วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สัปดาห์ที่ 5
งานที่ได้รับมอบหมาย
วันที่ 13 กรกฎาคม 2552
- เตรียมเอกสารการจัดอบรม ส่งเสริมสุขภาพบุคลากร
วันที่ 14 กรกฎาคม 2552
- ช่วยงานจัดอบรม "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบุคลากรกลุ่มเสี่ยงป่วยด้วยโรคจากพฤติกรรมสุขภาพ"
วันที่ 15 กรกฎาคม 2552
- เตรียมเอกสารการประชุมเตรียมรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ / คิดค่าบริการผู้ป่วย
วันที่ 16 กรกฎาคม 2552
- ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ
วันที่ 17 กรกฎาคม 2552
- สรุปแบบสำรวจความเครียดลง MS.Excel และคำนวณหาค่า
สัปดาห์ที่ 4
งานที่ได้รับมอบหมาย
วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม 2552
- วันหยุดราชการ
วันที่ 9 กรกฎาคม 2552
- บันทึก PMS ส่วนที่ 5 ของบุคลากรในหน่วยงาน ลงในระบบ MIS /
ทำบันทึกแจ้งขอซื้อครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2553 ลงระบบ MIS
วันที่ 10 กรกฎาคม 2552
- เตรียมการประชุมเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ/ คิดค่าบริการผูป่วย /
เดินเอกสารหน่วยงาน

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สัปดาห์ที่ 3
วันที่ 29 มิภุนายน 2552
จัดทำเอกสาร Job Description ของบุคลากรในหน่วยงาน
วันที่ 30 มิถุนายน 2552
จัดทำเอกสาร Job Description ของบุคลากรในหน่วยงาน (ต่อ) / คิดค่าบริการผูป่วย
วันที่ 1 กรกฎาคม 2552
คิดค่าบริการผู้ป่วยนอก / ใน ลงในระบบ MIS ของโรงพยาบาล
วันที่ 2 กรกฎาคม 2552
คิดสถิติประจำเดือนของหน่วยงาน / คิดค่าบริการผู้ป่วย
วันที่ 3 กรกฎาคม 2552
ประชุมหน่วยงาน / จัดทำสถิติประจำเดือนของหน่วยงาน / คิดค่าบริการผู้ป่วย

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 2

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (สัปดาห์ที่2)


วันที่ 22 มิถุนายน 2552

รายละเอียดของงานที่ได้รับมอบหมาย

- เดินเอกสารหน่วยงาน / ทำแบบฟอร์มเอกสารหน่วยงาน / พิมพ์โครงการ CQI ของหน่วยงาน

วันที่ 23 มิถุนายน 2552

- เข้ารับการอบรมสมรรถนะหลัก ในหลักสูตร "ศิลปะการสื่อสารจูงใจ"

วันที่ 24 มิถุนายน 2552
- เข้ารับการอบรมสมรรถนะหลัก ในหลักสูตร "ศิลปะการสื่อสารจูงใจ"

วันที่ 25 มิถุนายน 2552

- เตรียมเอกสารการประชุมสหวิชาชีพ / คิดค่าบริการผู้ป่วยในระบบ MIS

วันที่ 26 มิถุนายน 2552

- เดินเอกสารหน่วยงาน / แก้ไขเอกสารการจัดอบรม / คิดค่าบริการผู้ป่วยลงในระบบ MIS

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สัปดาห์ที่ 1

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (สัปดาห์ที่ 1)

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา


วันที่ 15 มิถุนายน 2552

รายละเอียดของงานที่ได้รับมอบหมาย

- พิมพ์เอกสารรายชื่อบุคลากรตรวจสุขภาพ / คิดค่าบริการผู้ป่วยในระบบ MIS ของสถาบันฯ / พิมพ์แบบประเมินตนเองระดับหน่วยงาน

วันที่ 16 มิถุนายน 2552

- คิดค่าบริการผู้ป่วยในระบบ MIS / เดินเอกสารหน่วยงาน

วันที่ 17 มิถุนายน 2552

- บันทึกความเสี่ยงของหน่วยงาน ลงระบบ MIS / คิดค่าบริการผู้ป่วย

วันที่ 18 มิถุนายน 2552

- คิดค่าบริการผู้ป่วย / พิมพ์เอกสารการเตรียมจัดอบรม

วันที่ 19 มิถุนายน 2552

- เดินเอกสารหน่วยงาน / คิดค่าบริการผู้ป่วย

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เที่ยวไทยช่วยชาติที่เกาะช้าง

ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูไหนๆ น้ำทะเลสวยๆ หาดทรายขาวละเอียดของ
"อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง"

หรือที่ใครๆ เรียกกันจนติดปากว่า เกาะช้างน้อย อึ๋ย!! ไม่ใช่ "เกาะช้าง" ยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แสนจะฮอตฮิตติดลมบนอันดับต้นๆ ของเมืองไทย

ที่ใครนึกอยากจะไปพักผ่อนคลายเครียดคิดถึง เนื่องจากสามารถไปเที่ยวตลอดทั้งปี เพราะความสวยงามของแต่ละฤดูจะแตกต่างกันออกไป

เกาะช้างมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็ก เกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกสรรว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหน อีกทั้งบนเกาะช้างยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงา แต่เดิมเกาะช้างไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย หากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ "เกาะช้าง" มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ 429 ตารางกิโลเมตร สภาพโดยรวมบนเกาะช้างนั้น มีพื้นที่กลางเกาะเป็นภูเขา และป่าดิบชื้น มีที่ราบอยู่ตามขอบเกาะก่อนถึงชายหาดของอ่าวต่างๆ ที่ราบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว สวนยางพารา และสวนผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฯลฯ ตลอดจนเปิดเป็นที่พักของนักท่องเที่ยว แต่ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ของเกาะช้างเป็นภูเขาสูง มีหินผาสลับซับซ้อน มีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดเขาสลักเพชร สูงถึง 744 เมตร (โห... สูงมากๆ เลยอ่ะ) รองลงมา ได้แก่ เขาจอมปราสาท และเขาหอม ซึ่งภูเขาเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารต่างๆ ที่ทำให้เกิดน้ำตกหลายแห่งบนเกาะนี้นั่นเอง

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจบน "เกาะช้าง" ได้แก่...

หาดทรายขาว

ชายหาดที่แสนจะยาว แถมยังขาวสะอาดสมชื่อ อยู่ทางตอนใต้ของเกาะช้างใกล้กับอ่าวสลักเพชร มีลักษณะเป็นอ่าวที่มีหาดทรายทอดยาว นักท่องเที่ยวสามารถลงเล่นน้ำได้ตลอดทั้งแนว หรือจะเช่ารถจักรยาน มอร์เตอร์ไซด์ ขี่เล่นก็ไม่ว่ากัน เพราะที่นี่มีถนนราดยางอย่างดี ขนานยาวไปกับชายหาด เชื่อมถึงหาดอื่นๆ มีบังกะโลตั้งอยู่หลายแห่ง มีถนนรอบเกาะตัดชิดหาดมากที่สุด ยามค่ำคืนปรากฏแสงสีของร้านอาหาร ผับ บาร์ พร้อมที่พักราคาประหยัดเพียบ !!



หาดคลองพร้าว

หาดคลองพร้าวอยู่ถัดจากหาดทรายขาว มีความยาวต่อเนื่องไปจนถึงหาดไก่แบ้ ตอนเหนือสุดของอ่าวคลองพร้าวติดกับแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งมีแหลมหิน มีทัศนียภาพสวยงาม แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าพักหลายแห่ง มีห้องพักที่ได้มาตรฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม เป็นหาดที่ยาวและมีความลาดมาก สามารถทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาริมหาดได้ เพราะมีหน้าหาดที่กว้าง และสะอาด ทางตอนเหนือสุดของเกาะ เป็นที่ตั้งของแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งเป็นแหลมหินแปลกตา (เห็นแล้วชวนแปลกใจ) เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากหาดหนึ่งบนเกาะช้าง



อ่าวคลองสน

เป็นอ่าวขนาดใหญ่ อยู่ทางเหนือของเกาะฝั่งตะวันตก มีหาดทรายขาวละเอียด ชายหาดกว้างยาวดูสวยงามมากๆ เหมาะแก่การเล่นน้ำเป็นที่ซู้ด... แถมมีความเป็นส่วนตัว ผู้คนไม่พลุกพล่านอีกด้วย และเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านคลองสน ใกล้บริเวณอ่าวมีแนวปะการังใต้น้ำ (แหะๆๆ ชักอยากไปแล้วสิ)


หาดไก่แบ้

หาดไก่แบ้ เป็นหาดที่ยาวต่อมาจากหาดคลองพร้าว นับว่าเป็นหาดยอดนิยมหาดหนึ่งของนักท่องเที่ยว เพราะสามารถลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย (สบายใจหายห่วง) มีบังกะโลราคาประหยัดให้เช่าหลายแห่ง บางแห่งมีจักรยานเสือภูเขาให้เช่า หน้าหาดมองเห็นเกาะหยวก เกาะมันนอกและเกาะมันใน


อ่าวใบลาน

อยู่ถัดขึ้นไปจากหาดไก่แบ้มีทางเท้าตัดผ่านภูเขาใช้เวลาเดินเท้าจากหาดไก่แบ้ประมาณ 1 ชั่วโมง ระหว่างทางสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทิวเขา อ่าวใบลานมีลักษณะเป็นหาดทรายยาวเงียบสงบเหมาะแก่การเล่นน้ำ และพักผ่อนมากๆ เพราะเงียบสงบ







สำหรับเรื่องที่พักบน "เกาะช้าง" นั้น ก็มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ท บังกะโล หรือจะเป็นบ้านพักแบบธรรมดาๆ ราคาประหยัด พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0-2561-2919-21 หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บ้านหินตาบ๋อย ตำบลแหลมงอบ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 23120 โทรศัพท์ 0-3953-8100 หรือ http://www.dnp.go.th/


ค่าธรรมเนียมสำหรับบุคคลผ่านเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง คือ คนไทย ผู้ใหญ่ คนละ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 200 บาท เด็ก 100 บาท สถานที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานมีบริการบ้านพักรายละเอียดติดต่อ โทร. 0 2562 0760



การเดินทาง

การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง สามารถเดินทางได้ ดังนี้ ...

1. ทางรถโดยสารประจำทางจังหวัดตราด - ที่ทำการอุทยานฯ (แหลมงอบ) เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที แล้วเดินทางต่อโดยเรือโดยสารจากท่าเรือแหลมงอบ

2. เรือโดยสารจากท่าเรือแหลมงอบ ที่อำเภอแหลมงอบ มีท่าเรือที่สามารถโดยสารไปยังเกาะช้าง ทั้งหมด 3 ท่า ได้แก่ …

ท่าเทียบเรือแหลมงอบ - เกาะช้าง (บ้านธารมะยม) สามารถเดินทางโดยเรือโดยสารประจำทาง หรือเรือยนต์จ้างเหมา ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ท่าเทียบเรือแหลมงอบ - เกาะช้าง (บ้านอ่าวสับปะรด) สามารถเดินทางโดยเรือโดยสารประจำทาง หรือเรือยนต์จ้างเหมา ค่าบริการสำหรับรถยนต์ 4 ล้อ พร้อมคนขับข้ามแบบไปเกาะช้างต้องเสียค่าใช้จ่ายคันละ 150 บาท และสำหรับนักท่องเที่ยวราคาคนละ 60 บาท ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที มีเรือออกทุกๆ 30 นาที

เที่ยวไปตั้งแต่เวลา 07.00 - 19.00 น. เที่ยวกลับเวลา 07.00 - 18.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0 3959 7143, 0 3959 7434, 0 3952 1661


ท่าเทียบเรือแหลมงอบ - เกาะช้าง (บริเวณบ้านด่านเก่า) สามารถเดินทางโดยเรือโดยสารประจำทาง หรือเรือยนต์จ้างเหมา จากท่าเรือแหลมงอบอยู่ห่างลงมาทางใต้ประมาณ 500 เมตร อัตราค่าโดยสารไปกลับราคาคนละ 120 บาท รถยนต์ 4 ล้อ ไปกลับฟรี ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 45 นาที มีเรือออกเที่ยวไปตั้งแต่เวลา 06.00 - 19.00 น. เที่ยวกลับเวลา 06.00 - 19.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 3953 8196 หรือจะเดินทางโดยเรือประมงดัดแปลง ค่าเรือโดยสาร 50 บาท ใช้เวลาประมาณ 45 นาที มีเรือออกทุกชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น.

เรือกลับจากเกาะช้างมีหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00 - 16.00 น. 3. บนเกาะช้าง สามารถนั่งรถสองแถวต่อไปยังที่ที่ต้องการได้

การเดินทางบนเกาะจากท่าเรือมีรถสองแถวไปยังหาดทรายขาว คลองพร้าว ไก่แบ้ อัตราค่ารถ 30 บาท ส่วนหาดอื่นๆ ต้องเหมา และตกลงราคาก่อนเดินทาง



ถ้าคิดจะเที่ยวให้สนุก พักผ่อนอย่างมีความสุขในทุกฤดู ก็อย่าลืมคิดถึง... "เกาะช้าง" นะคะ

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2552

การทำจดหมายเวียน


จดหมายเวียน คือ จดหมายทีมีข้อความเติมซ้ำๆ กันทุกๆ ฉบับจดหมายแต่ละฉบับแตกต่างเฉพาะบางส่วนของจดหมาย เท่านั้น ตัวอย่างจดหมายประเภทนี้ ได้แก่ จดหมายเชิญตัวแทนจำหน่ายสินค้ามาประชุมที่สำนักงานใหญ่ จดหมายนี้จะมีข้อความ เชื้อเชิญมาประชุมเหมือนกันทุกฉบับ แต่ละฉบับจะแตกต่างกันเพียงชื่อและ ที่อยู่เท่านั้น ลองคำนวณดูว่าถ้าคุณมีตัวแทน 300 คน คุณต้องแก้จดหมายในที่เดิมๆ มากมายเพียงใด
เริ่มแรกด้วยการสร้างเนื้อความในจดหมาย ขั้นตอนแรกของการทำจดหมายเวียน ก็คือ การจัดทำตัวจดหมายที่มีข้อความที่จะใช่ร่วมกัน เราเรียกจดหมายนี้ว่า เอกสารหลัก โดยคุณต้องเว้นที่ว่างไว้สำหรับใส่ชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นของผู้รับ ต่อจากนั้นก็ให้ Save จดหมายนี้เก็บไว้เพื่อไว้ใช้ใน คราวต่อๆ ไปสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย

การสร้างตารางข้อมูลของผู้รับจดหมาย ขั้นตอนที่สองที่คุณต้องทำก็คือ การเก็บข้อมูลต่างๆ ของผู้รับจดหมาย เช่น ชื่อ ที่อยู่ ตำแหน่ง บริษัท ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ จะถูกเก็บในลักษณะ เป็นแบบฐานข้อมูลที่เราเรียกว่า แหล่งเก็บข้อมูล คือ คุณสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ทุกเมื่อตามต้องการ วิธีการสร้างตารางเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ทำได้ดังนี้


1 เลือกคำสั่ง เครื่องมือ => จดหมายเวียน จะปรากฎ กรอบโต้ตอบตัวช่วยเหลือจดหมายเวียน


2 คลิกเมาส์ สร้าง => จากจดหมาย


3 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม หน้าต่างที่ใช้งานอยู่ เพื่อกำหนดว่าจะสร้างจดหมายเวียนจากจดหมายฉบับที่คุณกำลังเปิดอยู่นี้


4 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม รับข้อมูล => สร้างแหล่งข้อมูล จะปรากฎกรอบโต้ตอบขึ้นมา


5 เลือกหัวข้อเขตข้อมูล ที่จะใช้ในตารางข้อมูล โดยดูหัวข้อรายการจาก ชื่อเขตข้อมูลในบรรทัดนำ โดยสามารถกำหนดดังนี้ - ถ้าหัวข้อใดไม่ต้องการ ให้ คลิกเมาส์ เลือกหัวข้อนั้น แล้วคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เอาชื่อเขตข้อมูลออก - ถ้าต้องการเพิ่มหัวข้อลงในรายการ ให้กรอกหัวข้อใหม่ในกรอบชื่อเขตข้อมูล : จากนั้นใหคลิกเมาส์ ที่ปุ่ม เพิ่มชื่อเขตข้อมูล




6 เมื่อทำการกำหนดเรียบร้อยให้คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม ตกลง


7 ตั้งชื่อไฟล์และกำหนดตำแหน่งสำหรับ save ตารางฐานข้อมูล


8 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม save ก็จะปรากฎกรอบโต้ตอบ


9 คลิกเมาส์ ที่ปุ่ม แก้ไขแหล่งข้อมูล ก็จะปรากฎรูปแบบการกรอกข้อมูลขึ้นมาเพื่อจะใส่ข้อมูลของผู้รับจดหมาย ในตารางฐานข้อมูล